ข้อสมมติฐานเบื้องต้นของทฤษฏี

•10/14/2010 • ให้ความเห็น

นอกจากที่เราจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆของเกมส์แล้ว เรายังต้องเข้าใจถึงข้อสมมติฐานเบื้องต้น สองข้อหลักคือ

1) Rationality of Player นั่นคือบทข้อการมีเหตุมีผลของผู้เล่น ว่าแต่ละฝ่ายล้วนต้องการเพิ่มอรรถประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยทั้งสิ้น ฟังดูอย่างนี้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายก็ดูเหมือนเป็นบุคคลเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งหมด แต่ก่อนที่เราจะก้าวไปถกในข้อนั้นเราควรทำความเข้าใจกับอรรถประโยชน์ให้ถ่องแท้เสียก่อน

เมื่อพูดถึงอรรถประโยชน์หรือ utility แล้วหลายคนอาจสงสัยว่าใช้อะไรวัดว่าสูงที่สุดแล้วหรือไม่ และจริงๆแล้วอะไรกันแน่คืออรรถประโยชน์ หากจะให้อธิบายง่ายๆ อรรถประโยชน์ก็คือความสุขนั่นเอง ซึ่งโดยมากแล้วเรามักเข้าในว่าความสุขไม่มีหน่วย และไม่สามารถวัดได้ด้วยวัตถุสิ่งของ แต่วัดด้วยใจมากกว่า หากแต่ในทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งต้องการวัดค่าความพอใจของทุกสิ่งอรรถประโยชน์นี้อาจถูกวัดด้วยหน่วย util ทั้งนี้ util มีไว้เพื่อเปรียบเทียบเท่านั้นว่าสิ่งนี้ให้อรรถประโยชน์มากกว่าอีกสิ่ง หาใช่ประโยชน์โดยสัมบูรณ์ด้วยตัวมันเองไม่ ฉะนั้น สิ่งของที่ให้ util 2 หน่วย มักเป็นที่พอใจน้อยกว่าสิ่งของที่ให้ util 5 หน่วย เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว การประยุกต์ใช้หลักข้อนี้ก็เช่นนำเอา util มาโยงเข้ากับโลกธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการล้วนหวังผลกำไรด้วยกันทั้งสิ้น กำไร จึงมักถูกนำมาเปรียบเทียบให้เป็น utility เหมือนกันนั่นเอง ผิดกันแค่ว่ากำไรเป็นจำนวนสัมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบไปในตัวอีกด้วย เมื่อพูดเช่นนี้แล้วหวังว่าปัญหา util จะกระจ่างขึ้น

ต่อมาคำถามในข้อความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ หลายท่านคงสงสัยว่าหาก rational of player เป็นจริง เพราะเหตุใดยังคงมีคนใจบุญที่มักบริจาคเงินให้องกรณ์สาธารณกุศลต่างๆอยู่อีก คนเหล่านี้เค้าจะได้ประโยชน์อะไรแอบแฝงอยู่กับการทำบุญหรือไม่ คำตอบง่ายๆคือว่า utility ของเค้าอาจขึ้นอยู่กับ utility ของผู้อื่นนั่นเอง นั่นหมายความว่าเค้าเอาตัวเองเข้าไปผูกกับผู้อื่น ด้วย หากเค้าเป็นผู้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเมื่อเห็นคนอื่นเดือดร้อนเค้าจะทุกข์ไปด้วย ดังนั้นการบริจาคจึงเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เค้ารู้สึกว่าได้ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ในขณะที่อรรถประโยชน์ของผู้อื่นเพิ่มขี้น ความสุขของเค้าก็เพิ่มขี้นด้วยเช่นกัน นอกจากคิดแบบนี้แล้วบริษัทต่างๆยังอาจแฝง marketing campaign ไปกับองค์กรสาธารณกุศลได้อีกด้วย ถือเป็นการ sponsor ที่สร้างประโยชน์ให้กับทั้งธุรกิจเอง และสังคมอีกด้วยไปในตัว

2) Common Knowledge นั่นคือผู้เล่นทุกฝ่ายมีความรู้เท่าเทียมกัน รู้ทั้งเขาและเรา รู้ทั้งกฏ กติกา และข้อจำกัดในการเล่น ที่สำตัญไปกว่านั้น ผู้เล่นต้องทราบว่าอีกฝ่ายก็ใช้หลักเพิ่มอรรถประโยชน์ให้สูงสุดเช่นกัน เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว แต่ละฝ่ายจะไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างใดทั้งสิ้น ตลาดที่มีข้อมูลข่าวสารโปร่งใสจะทำให้เกิดประสิทธิผลโดยรวมสูงสุด มากกว่าตลาดที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายใช้ความแตกต่างด้านข้อมูลข่าวสาร หวังทำกำไรและเอาเปรียบฝ่ายที่ด้อยกว่าด้วย  Asymmetry of Information ทั้งนี้หลัก common knowledge นี้เข้าใจได้ไม่ยาก แต่การปฏิบัติ และผลกระทบของมันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นที่ทุกท่านจะต้องเข้าใจก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เกมส์กันจริงๆ

คำอธิบายสองหลักการใหญ่ๆที่กล่าวไปแล้วนั้น แม้จะไม่ตรงตามสถานการณ์จริงซะทีเดียว แต่ว่าเป็นข้อสมมติที่ทำให้เราได้ศึกษาทฤษฏีเกมส์ได้อย่างเข้าใจมากขี้น

 

ข้อสมมติฐานในทฤษฏีเกมส์

•10/14/2010 • ให้ความเห็น

นอกจากที่เราจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆของเกมส์แล้ว เรายังต้องเข้าใจถึงข้อสมมติฐานเบื้องต้น สองข้อหลักคือ

1) Rationality of Player นั่นคือบทข้อการมีเหตุมีผลของผู้เล่น ว่าแต่ละฝ่ายล้วนต้องการเพิ่มอรรถประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยทั้งสิ้น ฟังดูอย่างนี้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายก็ดูเหมือนเป็นบุคคลเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งหมด แต่ก่อนที่เราจะก้าวไปถกในข้อนั้นเราควรทำความเข้าใจกับอรรถประโยชน์ให้ถ่องแท้เสียก่อน

เมื่อพูดถึงอรรถประโยชน์หรือ utility แล้วหลายคนอาจสงสัยว่าใช้อะไรวัดว่าสูงที่สุดแล้วหรือไม่ และจริงๆแล้วอะไรกันแน่คืออรรถประโยชน์ หากจะให้อธิบายง่ายๆ อรรถประโยชน์ก็คือความสุขนั่นเอง ซึ่งโดยมากแล้วเรามักเข้าในว่าความสุขไม่มีหน่วย และไม่สามารถวัดได้ด้วยวัตถุสิ่งของ แต่วัดด้วยใจมากกว่า หากแต่ในทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งต้องการวัดค่าความพอใจของทุกสิ่งอรรถประโยชน์นี้อาจถูกวัดด้วยหน่วย util ทั้งนี้ util มีไว้เพื่อเปรียบเทียบเท่านั้นว่าสิ่งนี้ให้อรรถประโยชน์มากกว่าอีกสิ่ง หาใช่ประโยชน์โดยสัมบูรณ์ด้วยตัวมันเองไม่ ฉะนั้น สิ่งของที่ให้ util 2 หน่วย มักเป็นที่พอใจน้อยกว่าสิ่งของที่ให้ util 5 หน่วย เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว การประยุกต์ใช้หลักข้อนี้ก็เช่นนำเอา util มาโยงเข้ากับโลกธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการล้วนหวังผลกำไรด้วยกันทั้งสิ้น กำไร จึงมักถูกนำมาเปรียบเทียบให้เป็น utility เหมือนกันนั่นเอง ผิดกันแค่ว่ากำไรเป็นจำนวนสัมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบไปในตัวอีกด้วย เมื่อพูดเช่นนี้แล้วหวังว่าปัญหา util จะกระจ่างขึ้น

ต่อมาคำถามในข้อความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ หลายท่านคงสงสัยว่าหาก rational of player เป็นจริง เพราะเหตุใดยังคงมีคนใจบุญที่มักบริจาคเงินให้องกรณ์สาธารณกุศลต่างๆอยู่อีก คนเหล่านี้เค้าจะได้ประโยชน์อะไรแอบแฝงอยู่กับการทำบุญหรือไม่ คำตอบง่ายๆคือว่า utility ของเค้าอาจขึ้นอยู่กับ utility ของผู้อื่นนั่นเอง นั่นหมายความว่าเค้าเอาตัวเองเข้าไปผูกกับผู้อื่น ด้วย หากเค้าเป็นผู้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเมื่อเห็นคนอื่นเดือดร้อนเค้าจะทุกข์ไปด้วย ดังนั้นการบริจาคจึงเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เค้ารู้สึกว่าได้ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ในขณะที่อรรถประโยชน์ของผู้อื่นเพิ่มขี้น ความสุขของเค้าก็เพิ่มขี้นด้วยเช่นกัน นอกจากคิดแบบนี้แล้วบริษัทต่างๆยังอาจแฝง marketing campaign ไปกับองค์กรสาธารณกุศลได้อีกด้วย ถือเป็นการ sponsor ที่สร้างประโยชน์ให้กับทั้งธุรกิจเอง และสังคมอีกด้วยไปในตัว

2) Common Knowledge นั่นคือผู้เล่นทุกฝ่ายมีความรู้เท่าเทียมกัน รู้ทั้งเขาและเรา รู้ทั้งกฏ กติกา และข้อจำกัดในการเล่น ที่สำตัญไปกว่านั้น ผู้เล่นต้องทราบว่าอีกฝ่ายก็ใช้หลักเพิ่มอรรถประโยชน์ให้สูงสุดเช่นกัน เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว แต่ละฝ่ายจะไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างใดทั้งสิ้น ตลาดที่มีข้อมูลข่าวสารโปร่งใสจะทำให้เกิดประสิทธิผลโดยรวมสูงสุด มากกว่าตลาดที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายใช้ความแตกต่างด้านข้อมูลข่าวสาร หวังทำกำไรและเอาเปรียบฝ่ายที่ด้อยกว่าด้วย  Asymmetry of Information ทั้งนี้หลัก common knowledge นี้เข้าใจได้ไม่ยาก แต่การปฏิบัติ และผลกระทบของมันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นที่ทุกท่านจะต้องเข้าใจก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เกมส์กันจริงๆ

คำอธิบายสองหลักการใหญ่ๆที่กล่าวไปแล้วนั้น แม้จะไม่ตรงตามสถานการณ์จริงซะทีเดียว แต่ว่าเป็นข้อสมมติที่ทำให้เราได้ศึกษาทฤษฏีเกมส์ได้อย่างเข้าใจมากขี้น

 

ก่อนเริ่มเกมส์

•06/12/2010 • ให้ความเห็น

ก่อนที่เราจะไปรู้จักเกมส์ต่างๆ อย่างแรกที่เราต้องเข้าใจกันก็คือ อะไรคือเกมส์ การวางแผนกินข้าว การต่อคิวรอรับอาหาร การจีบสาว การเข้าห้องน้ำ อย่างไหนถึงจัดว่าเป็นเกมส์ หรือเกมส์จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่คนกลุ่มหนึ่งมาเล่นบางสิ่งบางอย่างด้วยกัน ภายใต้กฎกติกาอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจัดระเบียบให้เกมส์นั้นๆดูมีแบบแผนมากขึ้น เหมือนเกมส์กีฬาที่ต้องมีกรรมการมาคอยคุมไม่ให้ผู้เล่นออกนอกลู่นอกทางเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเกมส์มอญซ่อนผ้าที่ผู้เล่นต้องพยายามไม่ให้คนเป็นมอญมาแตะตัวได้ เกมส์จะเป็นอย่างไร แบบไหนบ้าง คำถามนี้ดูจะกระจ่างขี้นเมื่อได้รับคำอธิบายจากทฤษฎีเกมส์

ตามหลักของทฤษฎีเกมส์แล้ว เกมส์จะเำิกิดขึ้นเมื่อคนหรือกลุ่มคนมากกว่าหนึ่งมีปฎิสัมพันธ์กัน และแต่ละฝ่ายต่างตระหนักว่าการกระทำของตัวเองจะส่งผลต่อทั้งการกระทำและผลตอบแทนของอีกฝ่ายเสมอ (interaction and interdependency) ตามหลักนี้แล้ว การต่อคิวรับอาหารถือได้ว่าเป็นเกมส์ เพราะผู้ที่ต่อล้วนทราบว่าหากตนมาสายคงหนีไม่พ้นที่จะต้องทนหิวต่อคิวนานเป็นแน่ การคาดเดาว่าอีกฝ่ายจะมาก่อนทำให้แต่ละคนต้องรีบไปต่อคิว นั่นคือการกระทำของฝ่ายหนึ่งส่งผลต่ออีกฝ่าย การจีบสาวก็เช่นกันทั้งฝ่ายชายและหญิงต่างทราบว่าถ้าตนส่งสัญญาณไปให้อีกฝ่ายทราบว่าตนรู้สึกอย่างไรแล้วก็อาจทำให้อีกฝ่ายมีปฏิกิริยาโต้ตอบมาอย่างไรบ้าง ถ้าฝ่ายหญิงเขินอายเมื่อถูกแซวแล้ว ฝ่ายชายอาจตีความได้ว่าตนมีโอกาส และอาจฉวยเอาจังหวะดีดีรุกจีบฝ่ายหญิงต่อไปก็ได้ ขณะเีดียวกันฝ่ายหญิงทำ่ท่าเมินเฉยไม่ใยดี ผู้ชายคงเข้าใจว่าคงหมดหวังแน่ๆ

จากการอธิบายคร่าวๆที่ผ่านมา เกมส์จะเน้นเอาผลกระทบของการกระทำของฝ่ายหนึ่งต่อผลตอบแทนและการกระทำของอีกฝ่าย ดูจะมีนัยยะที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อเอาเกมส์มาแบ่งเป็นองค์ประกอบต่างๆแล้วจะพบว่ามีอยู่ 4 หน่วยที่สำคัญดังนี้

1. ผู้เล่น (Players) อย่างน้อยต้องมีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เช่น เจ้านายและลูกน้องเมื่อต่อรองเงินเดืิอน ประชาชนและรัฐบาลเวลารัฐจะขึ้นภาษี ลิเวอร์พูลและแมนยูตอนที่จะประลองฝีแข้งกันในสนาม ในบางทีผู้เล่นอาจมีมากกว่าสองก็ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีของรักสามเส้า เมื่อเพื่อนสองคนรุมจีบหญิงคนเดียวกัน ผู้เล่นจึงมีทั้งหมด 3 คน (หญิงหนึ่ง ชายสอง) แต่ละฝ่ายทราบว่าการกระทำของตนจะส่งผลต่ออีกสองคนที่เหลืออยู่เสมอ เช่นถ้าชายคนแรกจีบหญิงก่อน แล้วหญิงให้ความสนใจ ชายคนที่สองก็คงได้กินแห้วไปอย่างช่วยไม่ได้ หรือหากหญิงชอบชายคนที่หนึ่ง แต่ชายคนที่หนึ่งชอบชายคนที่สอง และชายคนที่สองชอบหญิงคนที่หนึ่ง นี่ก็ถือเป็นเกมส์ด้วยเช่นกัน (อันนี้เป็นรักสามเส้าอย่างแท้จริง)

2. กฎกติกา (Rules) ซึ่งจะบอกว่าเกมส์จะเล่นในรูปแบบไหนเช่น ตัวเลือกใดบ้างที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ในกำมือ บางครั้งผู้เล่นมีตัวเลือกอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่นจะซื้อเสื้อตัวนี้ดี หรือไม่ซื้อตัวนี้ดี ขณะเดียวกันบางทีตัวเลือกก็มีอยู่อย่างไม่จำกัดเช่นการตั้งราคาสินค้า คนขายสามารถกำหนดราคาได้ตั้งแต่ ติดลบไปจนไม่จำกัด นอกจากนี้แล้ว กติกาเกมส์จะระบุลำดับเวลาที่ผู้เล่นสามารถตัดสินใจได้ รูปแบบกติกาเกมส์จะบอกว่าผู้เล่นต้องตัดสินใจพร้อมกันหรือต้องรอคิวให้อีกฝ่ายเลือกก่อนหรือหลังแล้วค่อยสลับตากันเล่น ตัวอย่างเช่นการต่อรองราคาสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายต้องสลับตากันบอกว่าราคานี้ๆสมควรลดได้เท่าไหร่ แล้วอีกฝ่ายจะตกลงกับตัวเลือกที่ว่านี้หรือไม่ ทั้งสองฝ่ายจึงจะสามารถประเมินความต้องการขายและซื้อสินค้าได้โดยคร่าวๆ  ในบางทีการตัดสินใจก็จำเป็นที่จะต้องเปิดเผยพร้อมกันเช่นการไปต่อคิวซื้ออาหาร ผู้เล่นแต่ละคนต้องคิดและประเมินมาก่อนแล้วว่าคนอื่นๆจะไปซื้ออาหารเวลาใด แล้วช่วงไหนจึงจะเหมาะที่จะออกไปซื้ออาหารโดยที่ไม่ต้องทนจนหิว

3. ผลลัพธ์(Outcomes) เมื่อผู้เล่นทราบตัวเลือกของตนแล้ว ผู้เล่นต้องลงมือทำตามตัวเลือกที่ตนคิดไว้ดีแล้ว สถานการณ์ุุูถูกกำหนดมาให้ผู้เล่นมีทางเลือกให้ทำได้ทางไหนบ้าง แต่ผู้เล่นไม่สามารถที่จะเลือกทำได้ทุกทาง แต่ละคนต้องคิดว่าทางไหนดีที่สุด แล้วจึงค่อยเอาสิ่งนั้นมาลงมือทำ เช่นในกรณีการขอขึ้นเงินเดือน ลูกจ้างจะประเมินดูว่าตนสมควรขอขึ้นได้เท่าไหร่ดีบ้าง เมื่อคิดดูแล้วจึงเอาข้อเสนอนั้นไปคุยกับเจ้านาย ขณะเีดียวกันในการเกี้ยวพาราสีกัน แต่ละฝ่ายต้องมีความเห็นชัดเจนว่าอีกฝ่ายเหมาะกับตนเองหรือไม่ อย่างไร เมื่อคิดได้แล้วต้องนำความเห็นนั้นมาลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อผู้เล่นทุกฝ่ายตกลงการกระทำของตนแล้ว ผลลัพธ์ของเกมส์จะขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้เล่นทุกฝ่าย และจะบอกว่าฝ่ายใดได้ ฝ่ายใดเสีย หรือเสมอกัน เท่าไหร่

4. ผลตอบแทน(Payoffs) ตัวเลือกแต่ละตัวจะให้ผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน ในที่นี่ผลลัพธ์จะุูถูกเปลี่ยนให้เป็นจำนวนหน่วยความสุข เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบตัวเลือกต่างๆ เช่นเมื่อได้เงินเืดือนขึ้น หน่วยความสุขอาจเป็น 5 หากเงินเดือนคงที่ เราอาจคิดเป็น 0 หน่วยความสุข ขณะเดียวกัน หากเงินเดือนลดลงหน่วยความสุขอาจลดลงเป็น -5 ก็ได้ ที่นี้การแปลงผลลัพธ์ให้เป็นหน่วยจะช่วยในการลำดับข้อดีข้อเสียของตัวเลือกต่างๆ ซึ่งจำเป็นในการทำนายพฤติกรรมของผู้เล่น และผลลัพธ์สุดท้ายของเกมส์ ทั้งนี้หน่วยความสุขที่ว่านั้น อาจเทียบได้เป็นปริมาณความสุขที่เกิดขี้นจากการกระทำหนึ่งๆ ยิ่งการกระทำนั้นทำให้เกิดความสุขมากเท่่าไหร่ หน่วยความสุขก็จะมากขึ้นไปเท่านั้น

ทุกๆทฤษฎีล้วนมีจุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น ความเข้าใจในสมมติฐานและข้อจำกัดของสิ่งเหลานี้จึงเป็นสิ่งสำคัญหากเราจะนำมันไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ทฤษฎีเกมส์ไม่ได้บอกให้คนเราตัดเอาความรู้สึกออกไปในการตัดสินใจ เพียงแต่บอกให้เราเข้าใจอารมณ์ของตนและวิเคราะห์นำมันเอาไปใช้ในชีวิตจริงเท่านั้น

ทฤษฎีเกมส์บทแรกนี้ อาจดูงุนงงไปบ้าง แต่หากวิเคราะห์อ่านให้ดีแล้ว นี่ถือเป็นบทเรียนพื้นฐานที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะก้าวเข้าไปเรียนรู้รูปแบบเกมส์ต่างๆ บทนำบทนี้จึงขอน้อมรับคำถามหรือข้อคิดเห็นต่างๆจากผู้เยี่ยมเยือนทุกท่านด้วยใจจริง

นายมีนา

เกริ่นนำ

•06/12/2010 • ให้ความเห็น

ถึง ผู้เยี่ยมยือนทุกท่าน

หากพูดถึงเกมส์ที่เราๆทุกคนรู้จักก็อาจไม่พ้นเกมส์เด็กเล่นที่เราผูกพันกันมาแต่นมนาน ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ซ่อนหาซ่อนแอบเกมส์รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้าเอย เกมส์คอมพิวเตอร์ สารพัดเกมส์ที่สรรหามาเล่นฃ พอโตขึ้นหน่อยหลายคนก็หันไปเล่นเกมส์จิตวิทยา เกมส์การพนัน เกมส์เลี้ยงเหล้า เกมส์หาคู่ เกมส์หลอกเด็กสารพัน แต่ไม่ว่าอย่างไร เราๆก็หนีไม่พ้นกับการเล่นเกมส์ไปได้…. ไม่ว่าจะขี้นเงินเดือน การขับรถ การเลือกตั้ง การเลือกคู่ หรือแม้กระทั่งการมีลูก สิ่งเหล่านี้ล้วนขี้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้าง และสิ่งรอบตัวแทบทั้งสิ้น

ไอ่ที่ว่าเกมส์สนุกๆหรือไม่สนุกก็ตาม ก็อาจขึ้นอยู่กับผู้ร่วมเล่น บรรยากาศ การแบ่งพรรคแบ่งพวกไป เกมส์เด็กเล่นหรือว่าผู้ใหญ่เล่นเหล่านี้ ก็อาจให้ความรู้สึกแตกต่างออกไปจากเมื่อเราพูดถึงทฤษฎีเกมส์ เมื่อได้ยินทฤษฎีเกมส์ คนหลายคนคงหยุดคิดสักพัก แล้วอาจสงสัยว่ามันมีทฤษฎีจริงๆหรือ แค่เกมส์สนุกๆมันไม่น่าจะมีเรื่องราวอะไรมากกว่านี้ให้ค้นหา หลายคนคงอยากรู้ต่อว่าี ไอ่ตำราที่ว่ามันจะบอกสูตรลับที่นำไปสู่ชัยชนะได้จริงหรือ

ในความเป็นจริงแล้ว ทฤษฎีเกมส์เป็นบททฤษฎีที่มีอยู่จริงอันมีพื้นฐานมาจากคณิตศาสตร์และ่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆอีกหลากหลาย ตั้งแต่ชีววิทยา กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จิตวิทยา วิศวะ แพทยศาสตร์ การบัญชี หรือแม้แต่เศรษฐศาสตร์ วิชาการเหล่านี้บ้างก็นำทฤษฎีเกมส์ไปอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ บ้างก็นำมันไปประยุกต์หาวิธีการแก้โจทย์ปัญหาตามความเหมาะสม ทฤษฎีเกมส์จึงมีประโยชน์มากมายทั้งในแง่ทฤษฎีและการปฎิบัติ

บทความในนี้ก็เป็นเพียงบทนำที่ผู้เขียนได้หยิบยืมเอาตำหรับตำราเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าวมาเล่า พร้อมยกตัวอย่างพื้นๆที่เราพบเห็นในชีวิตทั่วไป บางทีการเอาทฤษฎีมาต่อยอดก็ช่วยให้เราเห็นปัญหาได้กระจ่างขึ้น และช่วยจุดประกายต่อยอดความคิดให้หันมามองปัญหารอบข้างด้วยหลักการของเหตุและผล และเมื่อมองข้ามไปถึงจุดนั้นได้ทางออกของปัญหาอาจมีมาให้เห็นอยู่เลือนๆ

สุดท้ายนี้หวังว่าเรื่องราวทฤษฎีเกมส์ที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

ขอให้สนุกกับการอ่าน

นายมีนา